Friday, February 15, 2019

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

สวัสดีค่ะ เป็นการเรียนคาบที่ 4 การศึกษานอกห้องเรียน ศึกษาจากการจัดนิทรรศการของพี่ชั้นปีที่ 5

ดิฉันได้มีความสนใจในการศึกษา ในรูปแบบ การสอนแบบโครงการ(Project Approach)

 ที่มาแนวคิด “Project Approach” เริ่มจากความเคลื่อนไหวของนักการศึกษากลุ่มพิพัฒนนิยม (Progressive) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วงศตวรรษที่  19 – 20  จอห์น ดิวอี้ ได้เขียนบทความและหนังสือที่เกี่ยวกับการสร้างประสบการณ์ทางการศึกษา  ที่จะช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดความตระหนักในชุมชนร่วมกัน และได้นำโครงการเข้าไปใช้ในโรงเรียนทดลองที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง  ในปี  ค.ศ.1943   ลูซี่ สปราค  มิทเชลล์ (Lucy Spraque Mitchell)  ได้นำนักศึกษาของวิทยาลัยการศึกษาแบงก์สตรีท เมืองนิวยอร์ก ออกศึกษาสิ่งแวดล้อม และได้สอนครูให้รู้จักวิธีการใช้โครงการวิธีสอนที่พัฒนาโดยวิทยาลัยการศึกษาแบงก์สตรีทนี้ มีส่วนคล้ายคลึงอย่างมากกับการสอนการใช้โครงการวิธีการสอนที่แบบโครงการ ส่วนในช่วง  30 ปี ที่ผ่านมา ครูโรงเรียนก่อนประถมศึกษาเมืองเรกจิโอ  เอมิเลีย   ประเทศอิตาลี ได้ประสบความสำเร็จในการนำโครงการเข้าไปใช้กับเด็กปฐมวัย แต่ลักษณะโครงการส่วนใหญ่โน้มเอียงไปทางการเรียนรู้ภาษากราฟิก (เขียนภาพลายเส้น) และข้อมูลที่ขยายการเรียนของเด็กผ่านโครงการรวมทั้งบทบาทของครูและพ่อแม่ในงานโครงการ


ซึ่งมีอยู่  3  ระยะ
ระยะที่  1  เริ่มต้นโครงการ : ทบทวนความรู้และความสนใจของเด็ก
เด็กและครูจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการอภิปรายเพื่อเลือกและปรับหัวเรื่องที่จะทำการสืบค้น หัวเรื่องอาจเสนอโดยเด็ก  หรือครูและเด็กร่วมกันโดยใช้หลักในการเลือกหัวเรื่องดังนี้
1.             เลือกหัวเรื่องที่เกี่ยวกับประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่ทุกวัน  อย่างน้อยเด็ก
ประมาณ 2 – 3 คน ควรคุ้นเคยกับหัวเรื่อง และจะช่วยในการตั้งประเด็นคำถามเกี่ยวกับหัวเรื่อง
2.             ทักษะพื้นฐานทางการรู้หนังสือและจำนวน ควรถูกบูรณาการอยู่ในหัว
เรื่องที่ทำโครงการรวมทั้งวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์ และภาษา  เช่น  การถามคำถาม  การสังเกต  การนับ  การทำกราฟ การสเก็ตซ์ภาพ  การปั้น  การประดิษฐ์ ฯลฯ
3.             หัวเรื่องที่เลือกควรใช้เวลาทำโครงการได้อย่างน้อย  1 สัปดาห์  และ
เหมาะที่จะทำการสำรวจค้นคว้าที่โรงเรียนมากกว่าที่บ้านเมื่อได้หัวเรื่องแล้ว ครูควรเริ่มทำแผนที่ทางความคิด (Mind map) หรือ ใยแมงมุม(Web) เพื่อระดมความคิดร่วมกับเด็กในหัวเรื่องนั้น  และจัดแสดงแผนที่ทางความคิดที่ทำไว้ภายในชั้นเรียน ซึ่งข้อมูลต่าง ๆที่ได้สามารถใช้ในการสรุป อภิปราย  ระหว่างทำโครงการ และยังสามารถเชื่อมโยงไปยังหัวเรื่องย่อยได้อีกนอกจากนี้  ในช่วงอภิปรายระดมความคิด  ครูจะทราบว่าเด็กมีประสบการณ์ในหัวเรื่องนั้นเพียงใดที่เด็กจะเสนอประสบการณ์และแสดงแนวคิดสิ่งที่ตนเข้าใจในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของวัย  เช่นเด็กปฐมวัยอาจใช้การเขียนภาพ เล่นบทบาทสมมติ ฯลฯ ครูจะเป็นผู้ช่วยให้เด็กเสนอคำถามที่ต้องการสืบค้นคำตอบ  จดหมายเกี่ยวกับหัวเรื่องที่จะสืบค้นถูกส่งไปยังบ้านของเด็ก  ครูจะเป็นผู้กระตุ้นให้พ่อแม่พูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับหัวเรื่องเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์  ครูจะชี้แนะวิธีสืบค้นเพื่อให้เด็กแต่ละคนได้ทำงานตามศักยภาพโดยใช้ทักษะพื้นฐานทางการสร้าง การวาดภาพ ดนตรี  และบทบาทสมมติ
                                           ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ :  ให้โอกาสเด็กค้นคว้า และมีประสบการณ์ใหม่เป็นงานในภาคสนาม  ประกอบด้วยการสืบค้นตามแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ระยะนี้ถือเป็นหัวใจของโครงการ ครูจะเป็นผู้จัดหา  จัดเตรียมแหล่งข้อมูลให้เด็กสืบค้น  ไม่ว่าจะเป็นจริง หนังสือ  วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆหรือแม้แต่การออกภาคสนามหรือไปศึกษานอกสถานที่  หรือนัดหมายผู้เชี่ยวชาญ วิทยากรท้องถิ่น  เพื่อให้เด็กได้ทำการสืบค้น สังเกตอย่างใกล้ชิด  และบันทึกสิ่งที่พบเห็น เขียนภาพที่เกิดจากการสังเกต จัดทำกราฟ แผนภูมิ ไดอะแกรม  หรือสร้างแบบต่าง ๆ สำรวจ  คาดคะเน  มีการอภิปรายเล่นบทบาทสมมติเพื่อแสดงความเข้าใจในความรู้ใหม่ที่ได้
                                   ระยะที่ 3  สรุปโครงการ :  ประเมิน สะท้อนกลับ  และแลกเปลี่ยนงานโครงการเป็นระยะสรุปเหตุการณ์  รวมถึงการเตรียมเสนอรายงานและผลที่ได้ในรูปของการจัดแสดงการค้นพบ  และจัดทำสิ่งต่าง ๆ สนทนา  เล่นบทบาทสมมติ  หรือจัดนำชมสิ่งที่ได้จากการก่อสร้างครูควรจัดให้เด็กได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนเรียนรู้กับผู้อื่น  เด็กสามารถช่วยกันเล่าเรื่องการทำโครงการให้ผู้อื่นฟังโดยจัดแสดงสิ่งที่เป็นจุดเด่นให้เพื่อนในชั้นเรียนอื่น  ครู  พ่อ แม่ ผู้ปกครอง  และผู้บริหารได้เห็น  ครูจะช่วยเด็กเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาแสดง  ซึ่งการทำเช่นนี้เท่ากับช่วยให้เด็กทบทวนและประเมินโครงการทั้งหมด  ครูอาจเสนอให้เด็กใช้จินตนาการ ความรู้ใหม่ที่ได้ผ่านทางศิลปะ ทางละคร  สุดท้ายครูนำความคิดและความสนใจของเด็กไปสู่การสรุปโครงการ  และอาจนำไปสู่หัวเรื่องใหม่ของโครงการต่อไป









 คำศัพท์

1.การเรียนรู้ – Learning
2.การสอนแบบโครงการ - Project Approach
3.สนทนา – talk
4.บุคคล – Person
5.ส่งเสริม – promote
6.ประโยชน์ – benefit 
7.ทบทวน – review
8.ประสบการณ์ – Experience
9.ค้นพบ – discover
10. สำรวจ - a survey

สิ่งที่ได้รับ
การเรียนรู้ของเด็กนั้นมีหลากหลาย แต่การเรียนรู้ที่สำคัญนั้นจะต้องเน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้เรียน บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับตัวเด็กทั้งหมดจะต้องช่วยเหลือและส่งเสริมเด็กอย่ารอบด้าน

การประเมิน
ประเมินอาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ให้ศึกษานอกห้องเรียนซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาอย่างมาก
ประเมินตัวเอง : ได้เรียนรุ้จากความรู้เดิมที่ได้ศึกษามาก่อนหน้านี้ จากผู้ปฏิบัติงานจริง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความสนใจกับความรู้อย่างหลากหลายแล้วนำมาแบ่งกัน

No comments:

Post a Comment

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12   การเรียนคาบสุดของภาคเรียนนี้ ในรายวิชานี้ สรุปผังความรู้ที่ได้รับมอบหมาย -ผังความรู้สาระสำคัญทางคณิตส...