Friday, February 22, 2019

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5


สวัสดีค่ะ บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 มีทั้งหมด 2 กิจกรรมการเรียนรู้

กิจกรรมที่ 1 การนำเสนองานกลุ่ม การพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีดังนี้
เทคนิค
-บางกิจกรรมใช้สัญลักษณ์แทนการใช้ตัวเลข
-การเรียนผ่านกิจกรรมต่างๆมากกว่าแบบทดสอบ
สื่อ
-กล่องมหัศจรรย์บอกรูปทรง
-นิทานฮาเฮ
-ลูกเต๋าบอกตัวเลข
กิจกรรม
-ประดิษฐ์รูปทรงเรขาคณิต
-แปลงร่างหุ่นยนต์



กิจกรรมที่ 2 การปั้นดินน้ำมันรูปทรงเรขาคณิต
การปั้นดินน้ำมันจาก 1 มิติ บนกระดาษ

การปั้นดินน้ำมัน 3 มิติ โดยใช้ไม้จิ้มฟัน บนกระดาษ

คำศัพท์
1.ดินน้ำมัน – clay
2.เรขาคณิต- Geometry
3.กิจกรรม – activities
4.มิติ – dimension
5.หุ่นยนต์ – robot
6.การปั้น – Molding
7.กระดาษ – paper
8.เทคนิค – technique
9.นิทาน – tale
10. สัญลักษณ์ - symbol


สิ่งที่ได้รับ 
การเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สามารถเรียนรู้ได้หลากหลายวิธีการผ่านสื่อ การเล่านิทาน การประดิษฐ์ หรือกิจกรรมต่างๆ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของเด็กจะมีพัฒนาการที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ผ่านการซึมซับการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
 การประเมิน
ประเมินอาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ให้ศึกษาสิ่งต่างๆจากกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่นักศึกษา
ประเมินตัวเอง : ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ได้รู้ถึงทักษะแลพเทคนิคต่างๆในการสอนเด็กปฐมวัย
ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆภายในชั้นเรียน

Friday, February 15, 2019

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

สวัสดีค่ะ เป็นการเรียนคาบที่ 4 การศึกษานอกห้องเรียน ศึกษาจากการจัดนิทรรศการของพี่ชั้นปีที่ 5

ดิฉันได้มีความสนใจในการศึกษา ในรูปแบบ การสอนแบบโครงการ(Project Approach)

 ที่มาแนวคิด “Project Approach” เริ่มจากความเคลื่อนไหวของนักการศึกษากลุ่มพิพัฒนนิยม (Progressive) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วงศตวรรษที่  19 – 20  จอห์น ดิวอี้ ได้เขียนบทความและหนังสือที่เกี่ยวกับการสร้างประสบการณ์ทางการศึกษา  ที่จะช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดความตระหนักในชุมชนร่วมกัน และได้นำโครงการเข้าไปใช้ในโรงเรียนทดลองที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง  ในปี  ค.ศ.1943   ลูซี่ สปราค  มิทเชลล์ (Lucy Spraque Mitchell)  ได้นำนักศึกษาของวิทยาลัยการศึกษาแบงก์สตรีท เมืองนิวยอร์ก ออกศึกษาสิ่งแวดล้อม และได้สอนครูให้รู้จักวิธีการใช้โครงการวิธีสอนที่พัฒนาโดยวิทยาลัยการศึกษาแบงก์สตรีทนี้ มีส่วนคล้ายคลึงอย่างมากกับการสอนการใช้โครงการวิธีการสอนที่แบบโครงการ ส่วนในช่วง  30 ปี ที่ผ่านมา ครูโรงเรียนก่อนประถมศึกษาเมืองเรกจิโอ  เอมิเลีย   ประเทศอิตาลี ได้ประสบความสำเร็จในการนำโครงการเข้าไปใช้กับเด็กปฐมวัย แต่ลักษณะโครงการส่วนใหญ่โน้มเอียงไปทางการเรียนรู้ภาษากราฟิก (เขียนภาพลายเส้น) และข้อมูลที่ขยายการเรียนของเด็กผ่านโครงการรวมทั้งบทบาทของครูและพ่อแม่ในงานโครงการ


ซึ่งมีอยู่  3  ระยะ
ระยะที่  1  เริ่มต้นโครงการ : ทบทวนความรู้และความสนใจของเด็ก
เด็กและครูจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการอภิปรายเพื่อเลือกและปรับหัวเรื่องที่จะทำการสืบค้น หัวเรื่องอาจเสนอโดยเด็ก  หรือครูและเด็กร่วมกันโดยใช้หลักในการเลือกหัวเรื่องดังนี้
1.             เลือกหัวเรื่องที่เกี่ยวกับประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่ทุกวัน  อย่างน้อยเด็ก
ประมาณ 2 – 3 คน ควรคุ้นเคยกับหัวเรื่อง และจะช่วยในการตั้งประเด็นคำถามเกี่ยวกับหัวเรื่อง
2.             ทักษะพื้นฐานทางการรู้หนังสือและจำนวน ควรถูกบูรณาการอยู่ในหัว
เรื่องที่ทำโครงการรวมทั้งวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์ และภาษา  เช่น  การถามคำถาม  การสังเกต  การนับ  การทำกราฟ การสเก็ตซ์ภาพ  การปั้น  การประดิษฐ์ ฯลฯ
3.             หัวเรื่องที่เลือกควรใช้เวลาทำโครงการได้อย่างน้อย  1 สัปดาห์  และ
เหมาะที่จะทำการสำรวจค้นคว้าที่โรงเรียนมากกว่าที่บ้านเมื่อได้หัวเรื่องแล้ว ครูควรเริ่มทำแผนที่ทางความคิด (Mind map) หรือ ใยแมงมุม(Web) เพื่อระดมความคิดร่วมกับเด็กในหัวเรื่องนั้น  และจัดแสดงแผนที่ทางความคิดที่ทำไว้ภายในชั้นเรียน ซึ่งข้อมูลต่าง ๆที่ได้สามารถใช้ในการสรุป อภิปราย  ระหว่างทำโครงการ และยังสามารถเชื่อมโยงไปยังหัวเรื่องย่อยได้อีกนอกจากนี้  ในช่วงอภิปรายระดมความคิด  ครูจะทราบว่าเด็กมีประสบการณ์ในหัวเรื่องนั้นเพียงใดที่เด็กจะเสนอประสบการณ์และแสดงแนวคิดสิ่งที่ตนเข้าใจในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของวัย  เช่นเด็กปฐมวัยอาจใช้การเขียนภาพ เล่นบทบาทสมมติ ฯลฯ ครูจะเป็นผู้ช่วยให้เด็กเสนอคำถามที่ต้องการสืบค้นคำตอบ  จดหมายเกี่ยวกับหัวเรื่องที่จะสืบค้นถูกส่งไปยังบ้านของเด็ก  ครูจะเป็นผู้กระตุ้นให้พ่อแม่พูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับหัวเรื่องเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์  ครูจะชี้แนะวิธีสืบค้นเพื่อให้เด็กแต่ละคนได้ทำงานตามศักยภาพโดยใช้ทักษะพื้นฐานทางการสร้าง การวาดภาพ ดนตรี  และบทบาทสมมติ
                                           ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ :  ให้โอกาสเด็กค้นคว้า และมีประสบการณ์ใหม่เป็นงานในภาคสนาม  ประกอบด้วยการสืบค้นตามแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ระยะนี้ถือเป็นหัวใจของโครงการ ครูจะเป็นผู้จัดหา  จัดเตรียมแหล่งข้อมูลให้เด็กสืบค้น  ไม่ว่าจะเป็นจริง หนังสือ  วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆหรือแม้แต่การออกภาคสนามหรือไปศึกษานอกสถานที่  หรือนัดหมายผู้เชี่ยวชาญ วิทยากรท้องถิ่น  เพื่อให้เด็กได้ทำการสืบค้น สังเกตอย่างใกล้ชิด  และบันทึกสิ่งที่พบเห็น เขียนภาพที่เกิดจากการสังเกต จัดทำกราฟ แผนภูมิ ไดอะแกรม  หรือสร้างแบบต่าง ๆ สำรวจ  คาดคะเน  มีการอภิปรายเล่นบทบาทสมมติเพื่อแสดงความเข้าใจในความรู้ใหม่ที่ได้
                                   ระยะที่ 3  สรุปโครงการ :  ประเมิน สะท้อนกลับ  และแลกเปลี่ยนงานโครงการเป็นระยะสรุปเหตุการณ์  รวมถึงการเตรียมเสนอรายงานและผลที่ได้ในรูปของการจัดแสดงการค้นพบ  และจัดทำสิ่งต่าง ๆ สนทนา  เล่นบทบาทสมมติ  หรือจัดนำชมสิ่งที่ได้จากการก่อสร้างครูควรจัดให้เด็กได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนเรียนรู้กับผู้อื่น  เด็กสามารถช่วยกันเล่าเรื่องการทำโครงการให้ผู้อื่นฟังโดยจัดแสดงสิ่งที่เป็นจุดเด่นให้เพื่อนในชั้นเรียนอื่น  ครู  พ่อ แม่ ผู้ปกครอง  และผู้บริหารได้เห็น  ครูจะช่วยเด็กเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาแสดง  ซึ่งการทำเช่นนี้เท่ากับช่วยให้เด็กทบทวนและประเมินโครงการทั้งหมด  ครูอาจเสนอให้เด็กใช้จินตนาการ ความรู้ใหม่ที่ได้ผ่านทางศิลปะ ทางละคร  สุดท้ายครูนำความคิดและความสนใจของเด็กไปสู่การสรุปโครงการ  และอาจนำไปสู่หัวเรื่องใหม่ของโครงการต่อไป









 คำศัพท์

1.การเรียนรู้ – Learning
2.การสอนแบบโครงการ - Project Approach
3.สนทนา – talk
4.บุคคล – Person
5.ส่งเสริม – promote
6.ประโยชน์ – benefit 
7.ทบทวน – review
8.ประสบการณ์ – Experience
9.ค้นพบ – discover
10. สำรวจ - a survey

สิ่งที่ได้รับ
การเรียนรู้ของเด็กนั้นมีหลากหลาย แต่การเรียนรู้ที่สำคัญนั้นจะต้องเน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้เรียน บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับตัวเด็กทั้งหมดจะต้องช่วยเหลือและส่งเสริมเด็กอย่ารอบด้าน

การประเมิน
ประเมินอาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ให้ศึกษานอกห้องเรียนซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาอย่างมาก
ประเมินตัวเอง : ได้เรียนรุ้จากความรู้เดิมที่ได้ศึกษามาก่อนหน้านี้ จากผู้ปฏิบัติงานจริง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความสนใจกับความรู้อย่างหลากหลายแล้วนำมาแบ่งกัน

Thursday, February 7, 2019

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3




สวัสดีค่ะ เป็นการเรียนคาบที่3 ในคาบเรียนนี้เราได้มีการประดิษฐ์สื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึงเป็นตัวช่วยในการสอนและการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยมีขั้นตอนการประดิษฐ์ดังนี้

1.นำกระดาษแข็งมาวัดเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสด้านล่างจำนวน 10 ช่อง ด้านบนจำนวน 10 ช่อง โดยให้มีความกว้างและความยาว 2 นิ้ว
2.จากนั้นนำปากกาเมจิกนำมาขีดขอบของเส้นให้ชัดเจนแล้วตัดออกตามเส้น
3.นำกระดาษที่เหลือมาวัดแล้วตัดจำนวน 3 ช่องของกระดาษที่เราได้ตัดเตรียมไว้
4.นำการะดาษที่ตัดแล้ว นำมาวัดแล้วขีดเส้นหนึ่งช่อง ขีดเส้นกึ่งกลางด้วยเมจิกให้ชัดเจน กำหนดช่องเป็น สิบและหน่วย
5.กระดาษที่มีการเขียน สิบและหน่วย มาประกอบกัน สองช่องสุดท้ายของกระดาษแผ่นใหญ่ โดยเว้นช่องว่างเพื่อให้พับได้
6.นำกระดาษที่เหลือมาตัดเป้นช่องตัวเลข 0-9

หรือปฎิบัติตามแบบจำลองการทำสื่อดังภาพ (แบบจำลอง)

                                              1.


                                    2.
                               


                                      3.


                                   4.

                             
                                    5.
                                             


                                   6.





จากนั้นเป็นการทำกิจจกรรมแบบกลุ่มโดยแบ่งเป็นกลุ่ม 13 คน และกลุ่มละ 14 อาจารย์ได้แจกดินน้ำมันแล้วให้ปั้นเป้นผลไม้คนละ1 ชนิด แล้วนำมาวางช่อง แล้วแบ่งชนิดตามที่อาจารย์บอกโดยใช้เกณฑ์ของเราเอง


อาจารย์แจกดินน้ำมัน ให้นำออกมานวดเพื่อทำกิจกรรม



เป็นการปั้นดินน้ำในหัวข้อ  ผลไม้


ดิฉัน ได้ปั้นรูปราสเบอร์รี่ 


นำตัวเลขที่เตรียมไว้ตามจำนวนของผลไม่ที่เรามี 

หลังจากนั้นมีการประเภท โดยใช้เกณฑ์ รูปร่าง รูปทรง เข้ามาแบ่งแยก แล้วสอนการคำนวณ เมื่อแบ่งแยกออกมาแล้ว








สิ่งที่ได้รับ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์องเด็กปฐมวัย เริ่มจากการเรียนรู้ที่ผ่านการเรียนรุ้ไปเรื่อยๆ ไม่ใช่การการเรียนรู้ผ่านการบวก ลบ คูณ หาร เป็นรูปธรรม ควรเรียนรู้จากการปฏิบัติไปเรื่อยๆจนเกิดการซึมซับและเรียนรู้ ผ่านสื่อและวิธีการต่างๆ เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายมากมาย หลายวิธี โดยไม่ต้องใช้แบบฝึกหัดก้ได้


คำศัพท์
1. สามเหลี่ยม triangle
2.สี่เหลี่ยม square
3.วงกลม  Circle
4.สีฟ้า blue
5.รูปธรรม concrete
6.การคำนวณ Calculation
7.สื่อการเรียนรู้ learning Media
8.ตัวเลข Number
9. ความสามารถ Ability
10.ทักษะ Skill


การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ได้ให้จัดทำสื่อการเรียนการสอน ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้อย่างหลากหลาาย ได้ใช้จินตนาการมากขึ้น 
ประเมินตัวเอง : ได้ใช้จินตนาการได้เรียนรู้ เป็นอย่างมากได้ทำกิจกรรมที่สนุกสนานร่วมกับเพื่อน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความร่วมมือในการทำกิจกกรมเป็นอย่างมาก มีการช่วยกันออกความเห็นต่างๆ


บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12   การเรียนคาบสุดของภาคเรียนนี้ ในรายวิชานี้ สรุปผังความรู้ที่ได้รับมอบหมาย -ผังความรู้สาระสำคัญทางคณิตส...